วันที่ ๒๑ เมษายน ดร.สมิทธ ธรรมสโรช เปิดเผยกับ สำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ในพื้นที่ภาคใต้ นอกจาก จ.ภูเก็ต แล้ว ยังมี จ.ระนอง ที่น่าเป็นห่วง ดร.สมิทธ ยังได้กล่าวด้วยว่า ในอนาคตจะเกิดสึนามิอีกอย่างแน่นอน ใน 2 จุด คือ ระหว่างหมู่เกาะอันดามัน ไปจนถึงปากแม่น้ำอิรวดีในพม่า และบริเวณอ่าวไทย หากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงอีกทั้งพื้นที่เกาะสุมาตรา หรือ บริเวณอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง ซึ่งส่งผลให้จังหวัดทางภาคใต้ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง หลายคนยังนึกภาพไม่ออกว่ามันจะเป็นไปได้ยังไง แค่ไหน...
เรียงลำดับ เรื่องราวจากการติดตามข่าวภัยพิบัติให้ฟังง่าย ๆ ว่า พายุ สุริยะที่เกิดขึ้น เมื่อไม่นานมานี้ มีผลทำให้ อัตราการละลายตัวของน้ำแข็งขั้วโลกเพิ่มขึ้นในอัตราทวีคูญ ( อัตราการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกแต่เดิมก็ มีมากอยู่แล้วตั้งแต่ ปี 2002 และมีมาอย่างต่อเนื่อง ในอัตราก้าวหน้า ( มากขึ้นเรื่อย ๆ ) จนถึงปี 2012 )
พื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกเป็นน้ำ ที่สำคัญตำแหน่งพื้นดินกับพื้นน้ำในโลกนี้ ก็ไม่สมดุลย์เสียทีเดียว พื้นดินดูจะเอียง ๆ ไปอยู่กองรวมกัน ด้านหนึ่ง ( ทวีปต่างๆ ) ปล่อยให้พื้นน้ำ ในมหาสมุทรแปซิฟิค เวิ้งว้าง กว้างใหญ่อยู่ด้านหนึ่ง ซึ่งขณะนี้ แปซิฟิค น่าจะมีปริมาตรเพิ่มขึ้น จากการละลายของน้ำแข็งดังกล่าว โลกนี้หมุนตัวลอยอยู่ในอวกาศ โดยอาศัยความสมดุลย์ ของโลกเอง เหมือนลูกข่างที่หมุนนิ่งสมดุลย์อยู่บนพื้น คราวนี้ลองจินตนาการว่า เอาดินน้ำมันไปแปะข้างใดข้างหนึ่งของลุกข่าง ให้ตัวมันเองขาดสมดุลย์ ลูกข่างจะหมุนอย่างไร
เปลือกโลกไม่ได้เป็นชิ้นเดียวกันไปหมด แต่เป็นแผ่นหิน เป็นแผ่น ๆ มาเรียงต่อ ๆ กัน ทั้งหมด วางอยู่ บนชั้นของเหลว ดังนั้นแผ่นเปลือกโลกทุกแผ่นพร้อมที่จะมีการเลือนตัวไปมาเมื่อเกิดแรงเหวี่ยงไม่ว่าจะมากหรือน้อย ส่วนของเหลวใต้แผ่นดิน ก็พร้อมจะ เทไปเทมา หรือ แม้กระทั่งกระฉอก ขึ้นมาตารอยแตก ได้ หากแกนโลกเหวี่ยง
แผ่นเปลือกโลกที่ประเทศไทยตั้งอยู่ คือ แผ่น ยูเรเซีย (ทอดยาวตั้งแต่ พม่า ทอดขนานผ่านภาคใต้ของไทย ไปอ้อมโค้ง โอบอินโดนีเซีย โอบ ฟิลลิปปิน ขอบไปชนกับแผ่นเปลือกโลก แปซิฟิค ที่ทอดขึ้นเหนือ ผ่านชายฝั่งตะวันออกของจีน ไปจน ญี่ปุ่น ) แผ่นนี้แต่เดิมมีความมั่นคงมาก แต่ตอนนี้ มุดเข้าไปอยุ่ ใต้แผ่นแปซิฟิค และ แผ่น อินเดีย ออสเตเรีย ( อยู่ทางใต้ ) เรียบร้อยแล้ว หลังแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ เมื่อปี 47 ที่เปรู
ขณะนี้แผ่นยูเรเซีย ที่เคยสมดุลย์ก็เริ่มไม่สมดุลย์ นึกถึงไม้กระดานที่ปลายข้างหนึ่ง ไปงัดซ้อนใต้ก้อนหิน ปลายอีกข้างขึ้นก็เกิดความเครียด พร้อมที่จะปรับสมดุลย์ หรือเรียกง่าย ๆว่า รอวันดีด
ปลายตรงกันข้ามกับแนวมุดตัว ก็คือ ... ขอบแผ่นยูเรเซีย ทางตะวันตกของไทย โดยเฉพาะ บริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์ กลางมหาสมุทรอินเดีย ทางใต้ของพม่า มีแนวภูเขาไฟใต้ทะเลอยู่ (เหมือนมีรอยร้าวใหญ่ ) เป็นจุดที่เปราะบางที่สุด ที่จะเกิดการขยับ ที่สำคัญ จากหมู่เกาะนิโคบาร์ ตรงมาสู่จังหวัด ระนองของไทย ห่างกันประมาณ 600 กิโลเมตร แบบไม่มีอะไรขวางกั้น
ดร. เป็นหนึ่ง วานิชชัย ประธานอนุกรรมการสาขาผลกระทบต่อแผ่นดินไหวและแรงลม วสท. คำนวนว่า หากเกิดแผ่นดินไหวขนาด ไม่ต่ำกว่า 8 ริกเตอร์ที่เกาะนี้ ซึนามิ จะเข้าถึงระนองได้ภายใน ไม่เกิน สองชั่วโมง
ส่วนกรุงเทพ พื้นที่ชั้นดินอ่อน มีอัตราการขายตัวแรงสั่นสะเทือนมากกว่าที่ดินแข็ง โครงสร้างทางธรณีวิทยาคล้าย แม๊กซิโกซิตี้
ในปี 2527 เกิดแผ่นดินไหวห่างกรุงแม๊กซิโกซิตี้ ไป 350 กม . ผลทำให้ แม๊กซิดกซิตี้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง ขนาดตึกสูง ๆ ถล่ม คนเสียชีวิตเป็นหมื่น
รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ ที่กาจนบุรี หนึ่งในรอยเลื่อนขนาดเล็กที่อยู่ทางตะวันตก (มีสิทธิรับอิทธิพลของรอยเลื่อนเปลือกโลก ยูเรเซีย ) ของไทย ห่างจาก กรุงเทพ ประมาณ 250 กม.
รศ.ดร.อมร พิมานมาศ จากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ และประธานคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมโครงสร้างและสะพาน สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ออกมาแนะนำอาคารที่ไม่ได้ออกแบบเอาไว้รองรับแผ่นดินไหวเอาไว้ว่า
ให้เสริมความแข็งแรงด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ โดยใช้พันรอบเสาในในตำแหน่งที่จะเสียหายได้ง่าย เช่น โคนเสา เป็นต้น แต่วิธีนี้มีราคาประมาณ 200,000 บาท จึงมีอีกวิธีสำหรับอาคารที่ไม่สูงเกิน 6 ชั้น หรืออาคารตึกแถว ให้ใช้เหล็กปลอกพันรอบโคนเสาแล้วพันทับด้วยลวดกรงไก่จากนั้นฉาบปูนทับ ซึ่งจะได้เสาที่มีความแข็งแรงขึ้นในต้นทุนเสาละประมาณ 1,000 บาท
ทั้งหมดเป็นการคาดการ ไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้น แน่นอน 100 เปอร์เซนต์ เพียงแต่ มีโอกาสที่จะเกิดขึ้น การเปิดรับฟังข้อมูล และ เตรียมตัวเอาไว้ แต่เนิน ๆ จะช่วยผ่อนหนักเป็นเบา หวังว่าคอลัมป์ในวันนี้ คงจะก่อให้เกิดความเข้าใจ นำไปสู่การเตรียมพร้อม มากกว่า ความกลัว และ ตื่นตระหนก ที่อาจจะเกิดโทษมากกว่าประโยชน์
................................................................
Post by :
Posted
30/04/2012 Time
12:09 pm
1560
1
|