ข่าว ฮือ ฮา ในสัปดาห์ที่แล้ว ก็คือเรื่องของสองสาว ไปยืนเปลือยอก เขย่าไฮโล การพนันผิดกฎหมาย ไม่ใช่ว่าเพิ่งมามีในเมืองไทย ตั้งแต่ผมจำความได้ก็ได้ยินเรื่อง "คนซื้อหวยมาตลอด" เรื่องปัญหาการพนันในไทยทำให้ผมนึกถึง เรื่องการออกกฎหมายที่สวนทางกับ "ความต้องการ" ของประชาชน ในสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1920
วันที่ 16 มกราคม 1919 - การแก้ไขรัฐธรรมนูญสหรัฐครั้งที่ 18 กำหนดห้ามไม่ให้มีการขาย ผลิต ขนส่ง หรือจัดจำหน่ายเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ทั่วทั้งประเทศ กฏหมายฉบับนี้นับเป็นการเริ่มต้นยุคสมัยของการห้ามซื้อขายและผลิตเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ทุกชนิดในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 มกราคม 1920
ในเวลานั้น ทุกประเทศรอบสหรัฐ (แคนาดา แม็กซิโก และประเทศในหมู่เกาะคาริบเบียน) สามารถผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างถูกกฏหมาย ( เช่นเดียวกับเวลานี้ รอบ ๆ เมืองไทย เปิดให้มีการพนันอย่างถูกกฏหมาย รวมไปถึงหลาย ๆ ประเทศถึงจะอยู่ห่างไทย แต่ก็เชื่อมกันได้ในเวลานี้ด้วยอินเตอร์เน็ต ) ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศใกล้เคียง สหรัฐในเวลานั้น จึงเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งจากอานิสงของพลเมืองสหรัฐที่เดินทางเข้ามา บริโภคแอลกอฮอล์
จนเกิดการผลิตเพื่อส่งเข้าประเทศสหรัฐอย่างผิดกฏหมาย นี่เองที่เป็น โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในสายตาของมาเฟีย ???? (นั่นคือ ยุคทองของมาเฟียอย่าง อัลคาโปน ) เมื่อสหรัฐมีกฏหมายห้ามขายเหล้า ในปี 1920 การลักลอบขาย เหล้าเถื่อน กลายเป็นช่องทางที่สามารถทำกำไรมหาศาลให้กับเหล่าผู้มีบารมีนอกกฏหมาย จำนวนประชากรมาเฟียเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พวกเขาแผ่ขยายอาณาเขตออกไปยังหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ ความรุนแรง อาชญากรรม และปัญหาสังคมอีกมากมายเกิดตามมาเป็นลูกโซ่ นอกจากจะเป็นช่องทางทำเงินให้กับเหล่ามาเฟียแล้ว เหล้าเถื่อนยังเป็นช่องทาง ทำเงินนอกระบบ ให้กับเจ้าหน้าที่รัฐอีกด้วย
ทำให้ต้นทุนที่รัฐบาลสหรัฐต้อง จ่าย เพื่อบังคับใช้กฏหมายห้ามขายเหล้านั้นสูงกว่าปกติมาก ในขณะที่รายรับจากภาษีสุราหดหายไป หลักฐานความเกี่ยวพันกันระหว่างกฏหมายฉบับดั่งกล่าว กับมาเฟียปรากฏชัดเมื่อกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อยกเลิก กฏหมายนี้เกิดขึ้นในปี 1933 ปรากฏว่า รายได้ขององค์กรมาเฟียทั่วประเทศหดหายไปเกือบหมด เพราะกำไรมหาศาลที่ได้จากการขายเหล้าเถื่อนได้หมดไป
ด้วยนิยามที่พื้นฐานที่สุดของ "ตลาด" สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้เกิด ตลาด ไม่ได้อยู่ที่ขนาดของหน้าร้าน หรือสภาพทางกฏหมายที่ได้รับการรับรองโดยรัฐ หากแต่อยู่ที่ ความต้องการแลกเปลี่ยน ของมนุษย์ในสังคมนั้นๆ
ในปี 1920 อาจนับได้ว่าเป็นตัวอย่างของช่วงเวลาที่สหรัฐพยายามเอาพลังทางการเมืองและกฏหมายเข้ามาบังคับใช้สวนทางกับความต้องการของประชาชน
เมื่ออุปสงค์ปริมาณมหาศาลไม่ได้รับการตอบสนอง นั่นหมายถึง โอกาสทางธุรกิจ ที่จะทำกำไรมหาศาลสำหรับ ใครสักคน ที่สามารถสนองความต้องการของตลาดได้ ไม่ว่าจะถูกหรือผิดกฏหมาย เพราะเมื่ออยู่ในตลาด น้อยคนนักจะสนใจว่าสินค้าที่ตนซื้อหามาบริโภคนั้นมากจากไหน ถูกผิดอย่างไร เพราะโดยส่วนใหญ่ความผิด (หรือบาป) ก็มักตกอยู่กับผู้ผลิต ไม่ใช่ผู้บริโภค บางครั้งเรื่องการพนันที่มันปากว่าตาขยิบกันอยู่ในเมืองไทยนี้ อาจต้องฝากให้ผู้เกี่ยวข้อง เลิกแกล้งปฎิเสธความจริงแล้ว ลองเปิดใจศึกษาเรื่อแบบนี้ดู หรือว่า รู้แต่ไม่อยากให้ทำเพราะกำไรนอกระบบจะหดหาย
อ้อ ...แล้วหวังว่าคงไม่มีรายการไหน เอาน้อง ซัน มา เขย่า อะไร อะไร ออนแอร์ สร้างกระแสอีกนะ สงสารสังคมกันบ้างอย่าเห็นแก่เรตติ้งนัก ขอขอบคุณข้อมูล จาก onopen.com ครับ
Post by :
Posted
26/01/2012 Time
01:33 pm
4728
1
|